Last updated: 25 ส.ค. 2562 | 3262 จำนวนผู้เข้าชม |
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย คืออะไร และทำงานยังไง บทความนี้มีคำตอบครับ
เชื้อจุลินทรีย์ ไฟน์เดย์ แอนตี้เพลี้ย เป็นเชื้อจุลินทรีย์ 2 ชนิดคือ บิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า กับ เมตาไรเซียม แอนนิโซเฟีย
ซึ่งมีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งแบบเกษตรเชิงพานิชย์และกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงต้นไม้เป็นงานอดิเรกตามบ้าน
แต่หลายๆท่านคงเคยใช้เชื้อชนิดชีวภัณฑ์ แล้วรู้สึกว่ามันก็ตายนะ แต่ทำไม มันไม่หายขาด
ดังนั้นเราต้องทราบลักษณะการทำงานของเชื้อชีวภัณฑ์ก่อน ให้ลองนึกถึงวงจรแมลงที่เคยเรียนกันมานะครับ
ไข่ ต่อไปฟักเป็น ตัวอ่อน ต่อไปเป็น แมลงตัวเต็มวัย ต่อไปแมลงตัวเต็มวัยวางไข่
แบ่งคร่าวๆเป็นสามรุ่นนะครับ วงจรนับจากไข่เป็นตัวเต็มวันประมาณ 13-45 วัน
ไข่เป็นตัวอ่อน เป็น วงจรที่ 1 ระยะเวลาโดยประมาณ 2-5วัน (ฉีดพ่นครั้งที่ 3 เพื่อตัดวงจรที่ 3 นับเวลาคือเวลาที่ตัวอ่อนกลายเป็นตัวเต็มวัยแล้ว)
ตัวอ่อนเป็นดักแด้สู่ตัวเต็มวัย เป็น วงจรที่ 2 ระยะเวลาโดยประมาณ 4-9 วัน (ฉีดพ่นซ้ำรอบที่ 2เพื่อตัดวงจรที่2 ดักแด้ที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วจะตายก่อนวางไข่)
ตัวเต็มวัยวางไข่ เป็น วงจรที่ 3 ระยะเวลาโดยประมาณ 7-30 วัน (ฉีดครั้งแรก จะตัดวงจรตัวเต็มวัยตายก่อนน)
7 วันแรก ถ้าระบาดหนักให้รดติดกันได้ 7 วันได้เลยครับ ถ้าไม่ระบาดหนักมากก็ 2 ครั้งพอครับ
ต่อไปให้รดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ติดกัน 3 อาทิตย์
โดย ใช้แอนตี้เพลี้ย 1 ช้อนชา กะทิ 1 ช้อนชา น้ำ 1 ลิตร ผสมกันแล้วรด/ฉีดพ่น
(กะทิจะช่วยจับใบและทำให้ข้อปล้องเพลี้ยฉีกขาด ทำให้แอนตี้เพลี้ยได้ผลเร็วขึ้น จะใช้กะทิสดหรือกะทิกล่องก็ได้นะครับ)
ระบบการทำงานของจุลินทรีย์นั้นเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ดังนี้
ฉีดพ่นครั้งแรกให้นึกถึง พื้นที่เปล่าที่ยังไม่มีจุลินทรีย์ควบคุมเป็นเหมือนดินแดนเถื่อนที่ไม่มีผู้รักษากฎหมายคอยควบคุม
เมื่อฉีดพ่นหรือรดจุลินทรีย์ไปแล้ว จุลินทรีย์ของเราก็ไปเกาะตามต้นไม้ในพื้นที่ๆเราฉีดพ่นหรือรดไป เท่ากับเริ่มมีผู้คุมกฎเข้าไปในพื้นที่ครับ พวกผู้คุมกฎนี้ก็จะเข้าไปปราบปรามอาชญากรตัวใหญ่ก่อน
คือจุลินทรีย์จะทำให้เพลี้ยที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วตาย ซึ่งเป็นการตัดวงจรที่ 1 ตัวโตเต็มวัยตาย เท่ากับไม่วางไข่แล้ว
ซึ่งโดยทั่วไปผู้ใช้จะหยุดที่ตรงนี้ เริ่มเห็นเพลี้ยตายแล้วก็หยุดฉีดครับ เล่าให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ นึกภาพเป็นหนังคาวบอยยุดแดนเถื่อนครับ ในการลงพื้นที่ครั้งแรกจุลินทรีย์ผู้คุมกฎก็จะต้องทำการต่อสู้แย่งชิงพื้นที่กับอาชญากรและสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคด้วยครับ ความร้อนแสงแดดแผดเผา ทำให้ความเข้มข้นและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ผู้คุมกฎน้อยลงตามธรรมชาติ เมื่อการต่อสู้ยกแรกจบลง ผู้คุมกฎที่ยังมีน้อยก็อ่อนแอลง
ซึ่งจะทำให้เกิดเพลี้ยตามมาอีกเพราะวงจรชีวิตรุ่นต่อมากำลังตามมาติดๆ
นั่นคือไข่กับตัวอ่อนแมลงที่เหลือรอดซุกซ่อนอยู่ก็จะกลายเป็นแมลงตัวเต็มวัยเหมือนอาชญากรตัวเล็กที่เริ่มกลายเป็นตัวเอ้ขึ้นมาคุมพื้นที่ต่อหลังจากลูกพี่ตายไป
จากตัวอ่อนก็โตขึ้นมาเป็นตัวเต็มวัยรุ่นที่ 2
ซึ่งทำให้คนส่วนมากคิดว่าทำไมชีวภาพไม่ได้ผลยังมีเพลี้ยอยู่อ่ะ ที่ยังเห็นเพลี้ยอยู่เพราะเรายังตัดวงจรไม่ครบไงครับ
ดังนั้นแนะนำว่าถัดมาอีก 3-5 วัน ฉีดพ่นชีวภัณฑ์ แอนตี้เพลี้ยอีกครั้ง ส่งผู้คุมกฎลงไฟคุมพื้นที่เพิ่งเสริมกำลังให้ชุดแรกไปในตัวครับ
ต่อหลังจากนั้น ในสัปดาห์ที่ 2-3 วัน ฉีดพ่นอีก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นการตัด วงจร ของตัวอ่อน และไข่ ที่เริ่มกลายเป็นแมลงตัวเต็มวัยรุ่นที่ 3
ถ้าเริ่มใช้จุลินทรีย์ครั้งแรกแนะนำให้ทำการตัดวงจรโดยพ่น/รด ให้ครบ 3 สัปดาห์ ตามสูตรข้างบน เพื่อตัดวงจรให้ครบ ระเบิดจะได้ไม่ทำงานนะคร๊าบบบ 555+
หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์เป็นการคุมพื้นที่ ทุก 15 วันครั้ง เพื่อป้องกันการกลับมาของเพลี้ยยยยย
หรือช่วงที่แมลงหยุดระบาดแล้วเมื่อเราตัดวงจรไปครบแล้ว ให้ทำการควบคุมพื้นที่ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ 3 เพาเวอร์ เพื่อป้องกันโรคพืช สลับกับการฉีดพ่น เชื้อจุลินทรีย์ แอนตี่เพลี้ย+แอนตี้หนอน สลับกันอาทิตย์เว้นอาทิตย์ก็ดีครับผม
28 ก.ค. 2562
28 ก.ค. 2562
28 ก.ค. 2562