โรคพืชและแมลง ประจำตระกูล "มะนาว"

Last updated: 7 ส.ค. 2562  |  33198 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคพืชและแมลง ประจำตระกูล "มะนาว"

โรคพืชและแมลง ประจำตระกูล "มะนาว"



             เชื่อว่าหลายคนคงปลูกต้นมะนาวไว้ในบ้านตามคำแนะนำของรัฐบาล เอาไว้ใช้ในช่วงมะนาวแพง ดังนั้นท่านอาจปนะสบปัญหาในการปลูกมะนาว และไม่ทราบว่าต้นมะนาวเป็นอะไรใช้อะไรในการปังกันรักษา

          หัวข้อนี้เราจะมาเริ่มกันที่โรคประจำมะนาวกันก่อน

          โรคแคงเกอร์/ขี้กลาก



       โรคมะนาวที่ไม่พูดถึงเป็นไม่ได้ คือ โรค แคงเกอร์ โรคแคงเกอร์เป็นโรคประจำของต้นไม้ตระกูล ส้ม มะกรูด มะนาว  โรคแคงเกอร์หรือโรคขี้กลาก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis. สามารถเป็นได้ทุกส่วนของมะนาว ทั้งใบ ผล ลำต้น แพร่ขยายได้ทางลม น้ำฝน น้ำ  โรคนี้มักพบที่ใบจะมีรอยโรคเป็นจุดสีน้ำตาล/เหลือง/เขียวซีด  ต่อมาจะมีรอยนูนจะมีสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ด ขรุขระเป็นปุ่มนูนและแข็ง แต่ตรงกลางจะเป็นรอยบุ๋มยุบลงไป และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล สามารถที่จะมองเห็นได้ทั้งสองด้านของใบโรคนี้จะทำให้ต้นไปอ่อนแอทรุดโทรมลงหรือตายได้    ในการรักษาแคงเกอร์ สารเคมีที่ใช้กำจัดแคงเกอร์ส่วนมากจะใช้คอปเปอร์ แต่คอปเปอร์มีราคาแพงและเป็นสารพิษ มีอันตรายต่อมนุษย์ และยังตกค้างในดิน หากตกค้างมากก็อาจเป็นพิษต่อต้นมะนาวได้ด้วย หรือสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ ไฟน์เดย์ 3 เพาเวอร์ ที่มีเชื้อจุลินทรีย์ บาซิลัส ซับทีลิส ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่ควบคุมโรคแคงเกอร์ได้ดี กลไกการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์เป็นแบบสัมผัส คือเป็นโรคตรงไหนฉีดให้โดนตรงนั้น หรืออยากป้องกันก็ฉีดให้ทั่วต้นได้เลยครับ อันนี้ข้อดีของเชื้อจุลินทรีย์คือไม่มีอันตรายต่อมนุษย์

อัตราส่วน 3 เพาเวอร์ 1 ช้อนชา ต่อ น้ำ 1 ลิตร หรือหากระบาดมาก อัตราส่วน 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร ได้เลยครับ

 
 
 

        โรคราดำ

ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ มักเกิดจากมูลของเพลี้ย สามารถใช้ 3 เพาเวอร์ ที่มีจุลินทรีย์ ไตรโคเดอร์มา และ บาซิลัส ซับทีลิส ในการควบคุมโรคราดำในมะนาวได้



 


           โรคกรีนนิ่ง/ใบแก้ว



เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย CandidatusLiberibacterasiaticus (CLA) ลักษณะ อาการ ใบมะนาวจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบของมะนาวจะมีขนาดเล็กลง จากนั้นใบและยอดจะแห้งตาย ผลของมะนาวจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ ไฟน์เดย์ กรีน กลิตเตอร์ ที่มีธาตุรองเสิมช่วยให้ใบมะนาวกลับมาเขียวได้เป็นปกติครับ   

 

         โรคราก เน่าและโคนเน่า ใบเหลืองซีด ใบร่วง



อาการใบร่วงมักจะเกิดปัญหามาจากราก รากเสีย รากเน่า ส่วนมากมักจะเกิดจากเชื้อราชื่อ Phytophthora parasitica Dastur  ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนงจะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่นจากนั้นกิ่งของมะนาวจะเริ่มแห้ง และต้นมะนาวก็จะยืนต้นตายในที่สุด การป้องกันและรักษา 1. เริ่มจากการเตรียมดิน ดินปลูกมะนาวควรเป็นดินที่ร่วนระบายน้ำได้ดี โดยรายละเอียดสามารถดูได้ในบทความ การเตรียมดินปลูกมะนาว 2. ใช้ 3 เพาเวอร์ ที่มีจุลินทรีย์ ไตรโคเดอร์มา ในการป้องกันและควบคุมเชื้อโรคเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อพืชได้ดี โดยสามารถผสมไปในขั้นตอนการเตียมดินได้เลย หรือสามารถโรยโคนต้นแล้วรดน้ำ แต่ จุลินทรีย์ ไตรโคเดอร์มา ไม่ชอบที่น้ำแฉะ น้ำขัง ดังนั้นควรเตรียมดินปลูกมะนาวให้ดีอย่าให้น้ำขังรากและใช้จุลินทรีย์ 3 เพาเวอร์ ไปพร้อมกัน


 

 มาต่อกันที่แมลงกันบ้างนะครับ

 

      หนอนม้วนใบ/หนอนชอนใบ



ต่อมาหนอนม้วนใบ/หนอนชอนใบ พืชตระกูลมะนาว, มะกรูด, ส้ม นั้น เมื่อแตกใบอ่อน มักจะมีแมลงมาวางไข่ ทำให้ใบเสียหาย บางทีเป็นทั้งต้น เราเรียกอาการนั้นว่า หนอนม้วนใบ/หนอนชอนใบ  สามารถใช้ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์ แอนตี้หนอน ได้เมื่อเริ่มเห็นมะนาวแตกใบอ่อน หรือหากเป็นแล้วก็สามารถฉีดได้เช่นกัน โดยใบมะนาวที่ม้วนเมื่อฉีดแล้วหนอนม้วนใบจะตากแล้วคลายใบออกแต่รอยที่เป็นสีใส จะทิ้งแผลเป็นไว้ไม่หายไป โดยการทำงานของ จุลินทรีย์ แอนตี้หนอน เป็นแบบ สัมผัส ดังนั้นฉีดพ่นให้ทั่วทั้งใบและต้น อัตราส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร

 

              หนอนกินใบ หนอนแก้ว/หนอนขี้นก


 



หากพบเห็นใบมะนาวแหว่ง มีรอยถูกกัดกิน

ให้ใช้ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์ แอนตี้หนอน ได้เลยเช่นกัน อัตราส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร

 

            เพลี้ยไฟ



           เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน เพลี้ยไฟ จะดูด กินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาด จะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะ ปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล

ให้ใช้ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์ แอนตี้ เพลี้ย อัตราส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือหากระบาดมาก อัตราส่วน 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร ได้เลยครับ

 

                ไรแดงเทียม/ไรแมงมุม



หากต้นมะนาวของคุณ มีใยแมงมุมแล้วละก็ สงสัยไว้ก่อนได้ว่าคุณกำลังเจอ ไรแดงเทียม เพราะไรแดงเทียนมจริงๆแล้วเป็นแมงมุมคันซาวา  ตัวอ่อนจะกินน้ำเลี้ยงจากใข้ใบอ่อน ระยะแรกใบจะเป็นจุดเล็กๆสีขาว และขยายขนาดใบเป็นสีเหลือง ทั้งใบ และใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโต และร่วงหลุดไป ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และหลุดร่วงในที่สุด หากเป็นมากจะทิ้งใบหมดต้นและยืนต้นแห้งตายได้ในที่สุด

ให้ใช้ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์ แอนตี้ เพลี้ย อัตราส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือหากระบาดมาก อัตราส่วน 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร อาทิตย์ละ 2 ครั้งครับเพราะไรแดงเทียม ตายยาก ต้องรดซ้ำครับ

 

 

สรุปง่ายๆกับการใช้ผลิตภัณฑ์ ไฟน์เดย์

                        โรคมะนาว      ใช้        3 เพาเวอร์

                        หนอน             ใช้        แอนตี้หนอน

                        เพลี้ย/แมลง   ใช้        แอนตี้เพลี้ย      ครับผม

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้