กุหลาบ ศัตรูพืช หนอน ด้วงกุหลาบ

Last updated: 4 ก.พ. 2563  |  4719 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กุหลาบ ศัตรูพืช หนอน ด้วงกุหลาบ

กุหลาบ ศัตรูพืช หนอน/ด้วง


หนอนกระทู้ผัก (Common cutworm) Spodoptera litura (Fabricius) : Noctuidae วงจรชีวิต ไข่(3-4 วัน), หนอน(10-14 วัน), ดักแด้(7-10วัน), ตัวโตเต็มวัย(ผีเสื้อ)(7-10 วัน) ในระยะหนอนเมื่อฟักออกมาจากไข่เมื่อฟักออกใหม่ๆตัวจะค่อนข้างใสมักจะอยู่กันเป็นกลุ่มกินใบเป็นอาหาร โดยแทะกินผิวใบบริเวณด้านล่างของใบ ทำให้เหลือแต่เส้นใบ (เหลือเป็นเยื่อสีขาว) เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือน้ำตาล ในระยะนี้จะเริ่มทำลายอย่างรุนแรงมากขึ้นโดยจะกระจายออกกัดกินใบ ยอดอ่อน ก้านและดอกกุหลาบ (พืชชนิดอื่นอาจกินฝักอ่อนหรือหัวด้วย) ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ถือว่าเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ตอนกลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามใต้ดิน จะออกหากินเวลากลางคืน พบระบาดทั่วไป พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากในฤดูฝน
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ : ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์กำจัดหนอน “แอนตี้หนอน”,
Finedays (Microorganism which eliminates various kinds of worms.) “Anti worm”
……………………………………………………………………………

หนอนกระทู้หอม(หนอนหนังเหนียว) (Beet armyworm) Spodoptera exigua (Hübner): Noctuidae วงจรชีวิต ไข่(2-3 วัน), หนอน(14-17 วัน), ดักแด้(5-7วัน), ตัวโตเต็มวัย(ผีเสื้อ)(4-10 วัน) ในระยะหนอนเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีนิสัย เจาะมุดเข้าไปกัดกินในพืช เช่น ในใบ, ยอดอ่อน, กัดกินในดอกกุหลาบ ทำให้ยากแก่การสังเกต ลักษณะของตัวหนอนโตเต็มวัยจะมีลำตัวอ้วน ผิวตัวเรียบลำตัวตรงราบเรียบเท่ากันตลอดตั้งแต่หัวถึงท้ายลำตัว ไม่มีขนแข็ง มีแถบสีข้างลำตัว ตัวหนอนมีสีเขียว เทา น้ำตาล ฯลฯ ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร พบระบาดทั่วไปทั้งประเทศ พบได้ตลอดปี มักจะระบาดรุนแรงในฤดูหนาวและฤดูร้อน
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ : ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์กำจัดหนอน “แอนตี้หนอน”,
Finedays (Microorganism which eliminates various kinds of worms.) “Anti worm”
……………………………………………………………………………


หนอนเจาะสมอฝ้าย (Cotton bollworm) Heliothis armigera (Hübner): Noctuidae วงจรชีวิต ไข่(2-3 วัน), หนอน(15-22 วัน), ดักแด้(10-12วัน), ตัวโตเต็มวัย(ผีเสื้อ) (7-18 วัน) สีของตัวหนอนเปลี่ยนไปตามวัยและชนิดของพืชอาหาร วัยแรก ๆ จะมีสีขาวนวล และเมื่อมีอายุมากขึ้น สีจะค่อย ๆ เข้มขึ้น มีขนเป็นหนามอ่อนๆ มีนิสัยค่อนข้างดุเมื่อเทียบกับหนอนกระทู้อื่นๆ การเข้าทำลาย หนอนเจาะสมอฝ้ายมักจะทำลายดอกกุหลาบ หนอนมักจะเข้าไปอยู่ภายในกัดกินช่อเกสรและกลีบดอก ถ้ามีการทำลายของหนอนชนิดนี้ในขณะที่ดอกยังไม่บาน พบว่าใบเลี้ยงดอกจะไม่บานกและดอกจะร่วงเสียไป และพบว่าทำลายในส่วนของใบและฝัก/ขั้วฝักในพืชอื่น พบระบาดทั่วไปทั้งประเทศ พบได้ตลอดปี แต่จะระบาดมากในพื้นที่สูงช่วงฤดูหนาว-ฤดูร้อน ระหว่างกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ : ไฟน์เดย์ จุลินทรีย์กำจัดหนอน “แอนตี้หนอน”,
Finedays (microorganism which eliminates various kinds of worms.) “Anti worm”
……………………………………………………………………………


ด้วงกุหลาบ (Rose beetle) Adoretus compressus (weber) : Rutelinae วงจรชีวิต ไข่หนอน ดักแด้ตัวโตเต็มวัย(ด้วง) ในระยะหนอนจะกัดกินรากพืช ในระยะตัวเต็มวัย ขนาดตัวประมาณ 1 เซนติเมตร การเข้าทำลายจะทำลายใบและยอดอ่อนของกุหลาบ ด้วงกุหลาบจะออกหากินเวลากลางคืนประมาณ 2-3 ทุ่ม ชอบกินใบแก่และยอดอ่อน ตอนกลางวันด้วงกุหลาบจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามซอกของต้นไม้หรืออาจอยู่ใต้ดิน การเข้าทำลายของด้วงกุหลาบจะทำให้ใบมีรูพรุนและหากระบาดมากอาจทำให้กุหลาบต้นแคระแกร็น พบมากช่วงกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ : จุลินทรีย์กินแมลง “แอนตี้เพลี้ย” ร่วมกับ จุลินทรีย์กำจัดหนอน “แอนตี้หนอน”
Finedays (Microorganism which destroys insects like aphid, moina and white fly.) “Anti-Aphid”
with (Microorganism which eliminates various kinds of worms.) “Anti worm”
……………………………………………………………………………………………………………

ไรแดง /ไรแมงมุมคันซาวา (Tetranychus kanzawai  Kishida) ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เข้าทำลายใต้ใบพืชในระยะใบเพสลาดและใบแก่

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ : จุลินทรีย์กินแมลง “แอนตี้เพลี้ย” ร่วมกับ กะทิแกง ผสมน้ำ อัตราส่วน 1:1:1
Finedays (Microorganism which destroys insects like aphid, moina and white fly.) “Anti-Aphid”




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้